ปฏิรูประบบ บำนาญกองทุนประกันสังคม


ปฏิรูประบบ บำนาญกองทุนประกันสังคม

ปฏิรูประบบ บำนาญกองทุนประกันสังคม

          สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่จำนวนประชากรในวัยทำงานมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง การลดลงของประชำกร วัยแรงงานนั้น ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยในระยะยาวได้

          ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ระดับปานกลาง คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสาธารณสุข มากขึ้น สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกขึ้น รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ประชากรไทยมีอายุเฉลี่ยยาวขึ้น ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและยังคงสามารถทำงานได้นานขึ้น

          การขยายอายุเกษียณเป็นการใช้ ศักยภาพของผู้สูงอายุให้เกิดประโยชน์มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้สูงอายุมีความภูมิใจว่าตนเองยังสามารถ ทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ เป็นการสร้างกำลังใจ และยังเสริมสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ อีกทางหนึ่งด้วย

          ปัจจุบัน กว่า 94% ของประเทศทั่วโลกกำหนดอายุรับบำนาญขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 60 ปีส่วนประเทศ สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ได้กำหนดอายุเกษียณอยู่ระหว่าง 60 – 67 ปี ซึ่งความแตกต่างของอายุเกษียณระหว่างประเทศสมาชิก มีแนวโน้มลดลง การปรับเพิ่มอายุเกษียณของประเทศเหล่านี้มักทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

          ขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย อายุเกษียณอยู่ในช่วงอายุ55-60 ปี ทั้งนี้ภาคเอกชนในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกำหนดอายุเกษียณไว้ชัดเจนแบบภาครัฐ การกำหนดอายุ เกษียณในภาคเอกชนเป็นข้อตกลงการจ้างงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างของแต่ละกิจการ โดยนายจ้างอาจ กำหนดอายุเกษียณมากหรือน้อยกว่า 60 ปีก็ได้

          ดังนั้น การปรับนโยบายของประเทศด้านโครงสร้างประชากรจึงเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน ปัจจุบัน ภาคเอกชนไทยหลายแห่งได้เริ่มมีการปรับข้อตกลงการจ้างงานโดยปรับอายุเกษียณจากอายุ 55 ปีเป็นอายุ 60 ปี ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังแรงงานของประเทศ ที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากร ช่วยลดภาระของแรงงานวัยทำงานที่ต้องเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่ขาดรายได้ และช่วยเพิ่มรายได้รวม ของประเทศสูงขึ้นตามแผน Thailand 4.0

          นอกจากนี้ เมื่อประชากรมีอายุยืนขึ้น จำเป็นต้องมีเงินสำรองเตรียมไว้ใช้ยามเกษียณมากขึ้น เพื่อให้ เพียงพอต่อการดดำรงชีพหลังเกษียณ รวมถึงการดูแลสุขภาพ หรือเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ทำให้เงินบำนาญที่เพียงพอ มีความสำคัญมาก ตลอดจนประชาชนจำเป็นต้องมีการออมเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับอายุเฉลี่ยที่ยาวขึ้น

          ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อให้มีเงินบำนาญเพียงพอต่อการดำรงชีวิตหลังเกษียณ ได้แก่ จำนวนปี การทำงาน ฐานค่าจ้าง และอัตราเงินสมทบ ซึ่ง 2 ปัจจัยแรกจะมีผลโดยตรงต่อการคำนวณเงินบำนาญรายเดือน ของลูกจ้าง ส่วนอัตราเงินสมทบจะมีผลต่อการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ในอนาคต

          ตามข้อกำหนดของกฎหมายประกันสังคมที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับ ประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ โดยมีเงื่อนไขการเกิดสิทธิประโยชน์ดังนี้ คือ มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์สิ้นสภาพการ เป็นผู้ประกันตน และส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 180 เดือน (15 ปี)

          สำหรับอัตราบำนาญขั้นต่ำที่จะได้รับ คิดเป็น 20 % ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และอัตรา บำนาญเพิ่มเติมขึ้นอีก 1.5 % ต่อ 1 ปีที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี เช่น ส่งเงินสมทบ 17 ปี จะได้รับบำนาญ เพิ่มอีก 3% จากอัตราขั้นต่ำ 20% รวมเป็น 23 % ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ ไม่ครบ 15 ปี ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสะสมชราภาพคืนพร้อมดอกผล

          เนื่องจากการจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพเริ่มดำเนินการใช้บังคับเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ดังนั้น ในช่วงระยะปี 2542 – 2556 ผู้ประกันตนที่เกษียณอายุยังไม่สามารถรับเงินบำนาญได้ เนื่องจากระยะเวลา การจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด จึงได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็น เงินบำเหน็จตามจำนวนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนพร้อมดอกผล

          สำนักงานประกันสังคม เริ่มดำเนินการจ่ายเงินบำนาญครั้งแรกในปี 2557 จำนวนเงินบำนาญที่ ผู้ประกันตนได้รับในช่วงแรกอยู่ระหว่าง 2,000 - 3,000 บาทต่อเดือนต่อคน เนื่องจากมีระยะเวลาการออมเงิน ได้เพียงขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้ประกันตนที่อายุครบ 55 ปี ได้สิทธิรับบำนาญ แต่ยังคงทำงานต่อ จะมีจำนวนปีการทำงานเพื่อนำส่งเงินสมทบได้มากขึ้น ส่งผลให้จำนวนปีการส่งเงินสมทบซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ในการคำนวณเงินบำนาญเพิ่มขึ้น และเงินบำนาญที่จะได้รับก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

          การขยายอายุการทำงานจาก 55 ปี เป็น 60 ปี เพื่อสิทธิในการรับบำนำญอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ผู้ประกันตนมีระยะเวลาทำงานนานขึ้น มีระยะเวลาออมเงินมากขึ้น ส่งผลให้ เมื่อเกษียณอายุออกจากงานย่อมมีสิทธิได้รับเงินบำนำญสูงขึ้น

          อีกทั้งเป็นการขยายโอกาสการทำงานสำหรับผู้สูงอายุ และเป็นการสนับสนุนให้มีการจ้างงาน อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกันตนที่สูงอายุสามารถพึ่งตนเองได้ ตลอดจนเป็นการบรรเทาปัญหาการขาด แคลนแรงงานของไทยได้ทางหนึ่ง

           ข้อเสนอแนวทางในการปฏิรูประบบบำนาญกองทุนประกันสังคม ได้มีการศึกษาโดยนักวิชาการ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการประกันสังคม โดยจะต้อง ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขข้อกำหนดของกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของ ผู้ประกันตนที่จะเป็นผู้รับบำนาญในอนาคต โดยมีประเด็นต่อไปนี้

1. การขยายอายุการเกิดสิทธิรับบำนาญชราภาพ มีแนวทางในการพิจารณา 4 แนวทาง ดังนี้

แนวทำงที่ 1 คงอายุการเกิดสิทธิรับบำนาญชราภาพไว้ที่ 55 ปี เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์เงิน บำนาญแบบเดิม (ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ)

          เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดอายุเกิดสิทธิในการรับบำนาญชราภาพไว้ที่ 55 ปีแต่ไม่ได้กำหนดอายุเกษียณไว้ หากลูกจ้างที่อายุมากกว่า 55 ปี ยังคงทำงานต่อ สามารถส่งเงินสมทบ ต่อไปได้ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาการส่งเงินสมทบเพิ่มมากขึ้น มีสิทธิได้รับเงินบำนาญในอัตราที่สูงขึ้น ตามเงื่อนไข กฎหมาย

          ปัจจุบันคือ หากส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับบำนาญในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย หากระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อปี

เงินบำนาญ = [20% + (1.5% x จำนวนปีที่ส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน)] x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

          แนวทางที่ 2 ขยายอายุการเกิดสิทธิรับบำนำญตามหลักสากล และมีสิทธิได้รับบำเหน็จชดเชย หากไม่สามารถทำงานจนถึงอายุที่มีสิทธิรับบำนาญได้

          ประเทศพัฒนาแล้ว หลาย ๆ ประเทศได้มีการปรับเพิ่มอายุขั้นต่ำที่เริ่มมีสิทธิรับบำนาญ โดยมีการประกาศ ล่วงหน้า และทยอยปรับอายุเพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนน้อยที่สุด การขยายอายุ การเกิดสิทธิอาจใช้วิธีการกำหนดด้วย ปีพ.ศ. เกิดของผู้ประกันตน เพื่อก่อให้เกิดความชัดเจนต่อตัวบุคคลและ ลดความสับสนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงอาจกำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษช่วงเปลี่ยนผ่านให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

          ในแนวทางการเพิ่มอายุรับบำนาญขั้นต่ำอย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ ทางสำนักงานประกันสังคมจะ ประกาศการทยอยการปรับเพิ่มอายุการเกิดสิทธิรับบำนาญไว้ล่วงหน้า กรณีที่ได้ประกาศการขยายอายุการรับ บำนาญขั้นต่ำออกไปแล้ว

          หากผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับบำนาญต้องออกจากงานหรือเกษียณอายุ โดยอายุยังไม่ถึงอายุที่กำหนดรับ บำนาญตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศ ทำให้เกิดช่วงเวลาที่ต้องรอรับบำนาญ ไม่สามารถรับเงินบำนาญ ณ วันที่เกษียณ กรณีเช่นนี้ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชดเชยระหว่างที่ไม่สามารถรับเงินบำนาญได้ (อายุรับบำนาญขั้นต่ำใหม่ - อายุ ณ วันที่ขอรับสิทธิ) แต่ไม่เกินระยะเวลาชดเชยที่กำหนด และจะรับบำนาญได้ ตามเงื่อนไขเมื่อมีอายุการเกิดสิทธิครบตามที่สำนักงานได้ประกาศไว้

          แนวทางที่ 3 ขยายอายุการเกิดสิทธิรับบำนาญตามหลักสากล และสามารถเลือกรับสิทธิประโยชน์ บำเหน็จไปส่วนหนึ่งก่อนครบอายุรับบำนาญ แต่เมื่อครบอายุเกิดสิทธิรับบำนาญจะได้รับบำนาญในจำนวน ที่ลดลง

          1. ใช้แนวทางการขยายอายุรับบำนาญขั้นต่ำตามแนวทางที่ 2 หากกำหนดขยายอายุรับบำนาญ เริ่มในปี2561 สำหรับผู้ประกันตนที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2506 – 2512 แต่ผู้ประกันตนที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นต้นไป กำหนดอายุรับบำนาญขั้นต่ำ 60 ปี

          2. หากผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับบำนาญต้องออกจากงานหรือเกษียณอายุ โดยอายุยังไม่ถึงอายุที่กำหนด รับบำนาญตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศ สามารถเลือกรับสิทธิประโยชน์บำเหน็จก่อนครบอายุรับ บำนาญได้ส่วนหนึ่งตามระยะเวลาการส่งเงินสมทบ (ไม่เกินร้อยละ 30) โดยยอมให้สำนักงานประกันสังคมหัก บำนาญเพื่อเป็นต้นทุนในการจ่ายบำเหน็จ

          3. ผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นต้นไปจะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว

หมายเหตุ: ต้องศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน ความเหมาะสมต่อการประกันรายได้ที่เพียงพอของผู้สูงอายุระยะยาว และการกำหนดอายุขั้นต่ำในการเกิดสิทธิที่เหมาะสม

          แนวทางที่ 4 ขยายอายุรับบำนาญขั้นต่ำเฉพาะผู้ประกันตนใหม่ สำหรับผู้ประกันตนเดิมสามารถ เลือกรับสิทธิประโยชน์บำเหน็จไปส่วนหนึ่งก่อนครบอายุรับบำนาญ แต่เมื่อครบอายุเกิดสิทธิรับบำนาญจะ ได้รับบำนาญในจำนวนที่ลดลง

          1. กำหนดให้ผู้ประกันตนใหม่ (เข้าสู่ระบบประกันสังคมหลังการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม ประกาศใช้) มีอายุรับบำนาญขั้นต่ำ 60 ปี

          2. ผู้ประกันตนเดิม (อยู่ในระบบประกันสังคมก่อนการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมประกาศใช้) ยังสามารถเลือกรับบำนาญได้เมื่ออายุ ไม่ต่ำกว่า 55 ปี

          3. ผู้ประกันตนเดิมที่มีสิทธิรับบำนาญสามารถแจ้งความจำนงขอขยายอายุรับบำนาญมากกว่า 55 ปี โดยจะได้รับบำนาญเพิ่มปีละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างเฉลี่ยต่อ 1 ปีที่ส่งเงินสมทบเพิ่มเติม

          4. เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกันตนเดิมรับบำนาญที่อายุมากกว่า 55 ปี จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

          สามารถเลือกรับบำเหน็จได้ส่วนหนึ่งตามระยะเวลาการส่งเงินสมทบ (ไม่เกินร้อยละ 30) โดยยอม ให้สำนักงานประกันสังคมหักเงินบำนาญที่ได้รับทุกเดือน

หมายเหตุ: ต้องศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน ความเหมาะสมต่อการประกันรายได้ที่เพียงพอของผู้สูงอายุระยะยาว และการกำหนดอายุขั้นต่ำในการเกิดสิทธิที่เหมาะสม

          อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพได้รับบำนาญอย่างน้อย 10 ปีการทำงานเพื่อทำให้ ระยะเวลานำส่งเงินสมทบเพิ่มขึ้นจะทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่า การเลือกรับแนวทางการชดเชย ดังนั้น นักวิชาการแนะนำว่า หากผู้ประกันตนสามารถเลือกทำงานส่งเงินสมทบต่อได้จะทำให้รายได้ระยะยาวหลัง เกษียณสูงขึ้น

2. เพิ่มสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพต่อเนื่องแก่ผู้รับบำนาญ

          ผู้รับบำนาญสามารถเลือกรับการประกันสุขภาพต่อเนื่องหลังออกจากการเป็นผู้ประกันตนได้ โดยยอม ให้สำนักงานประกันสังคมหักบำนาญส่วนหนึ่งเป็นเบี้ยประกันสุขภาพ

          หมายเหตุ: ต้องศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน รวมถึงความเป็นไปได้ในการประกันกรณีทุพพลภาพ และเสียชีวิต ประกอบกับการกำหนดอายุขั้นต่ำในการเกิดสิทธิที่เหมาะสม

3. การปรับปรุงสูตรค่าจ้างเฉลี่ยในการคำนวณบำนาญชราภาพ

          ที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมคำนวณค่าจ้างเฉลี่ยจาก ค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย (5 ปี) เพื่อนำค่าจ้าง ดังกล่าวไปคูณกับอัตราบำนาญชราภาพ ผลลัพธ์คือบำนาญที่ผู้ประกันตนจะได้รับเป็นรายเดือนตลอดชีวิต (ปัจจุบันเพดานค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบกำหนดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)

          การคำนวณค่าจ้างเฉลี่ยแบบ 60 เดือนสุดท้าย แม้ว่าจะสะดวกต่อการดำเนินงาน แต่อาจก่อให้เกิด ความไม่ยุติธรรม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างของผู้ประกันตนที่แตกต่างกัน บางรายมีค่าจ้างสูงขึ้นเมื่ออายุ มากขึ้น ในทางกลับกันบางรายมีค่าจ้างลดลงเมื่อใกล้เกษียณ รวมถึงผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ใช้ฐานค่าจ้างเพียง 4,800 บาทในการคำนวณเงินสมทบ ดังนั้น การคำนวณค่าจ้างเฉลี่ยเพียง 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ จึงทำให้ ผู้ประกันตนที่มีค่าจ้างลดลงเมื่ออายุมากขึ้นเสียประโยชน์ ซึ่งจะสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้ผู้ประกันตนกลุ่ม ดังกล่าว

          สำนักงานประกันสังคมโดยความร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศจึงได้ศึกษาวิธีคำนวณ ค่าจ้างเฉลี่ยใหม่ โดยใช้วิธีคำนวณจากค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ และมีการปรับมูลค่าของค่าจ้าง แต่ละเดือนให้เป็นมูลค่าปัจจุบันก่อนนำมาเฉลี่ย ยกตัวอย่างเช่น ค่าจ้างเมื่อ 15 ปีที่แล้วอาจเป็นเงินเพียง 7,000 บาท แต่เมื่อปรับเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วอาจมีค่าสูงถึง 12,000 บาท

          ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะนำค่าจ้างทุกเดือนที่ปรับมูลค่าปัจจุบันแล้วมาคำนวณค่าจ้างเฉลี่ยตลอด อายุการทำงาน เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกันตนที่มีลักษณะค่าจ้างที่แตกต่างกัน และจะช่วยให้ ผู้ประกันตนส่วนมากได้บำนาญเพิ่มขึ้น

          โดยสรุปการปรับวิธีคำนวณค่าจ้างเฉลี่ยตลอดอายุการทำงานสำหรับคำนวณบำนาญ จะทำให้ ผู้ประกันตนได้รับบำนาญในระดับที่เหมาะสมกับเงินสมทบที่ส่งมาตลอดอายุการทำงาน สร้างความเป็นธรรม ให้กับระบบบำนาญ ดังนั้น ผู้ที่มีค่าจ้างลดลงเมื่ออายุมาก รวมถึงผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้น อย่างมาก โดยนำค่าจ้างที่สูงขณะอายุน้อยมาคำนวณปรับเพิ่มมูลค่า ส่วนผู้ที่มีลักษณะการปรับเพิ่มเงินเดือน อย่างต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไป จะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

 ** การปรับฐานค่าจ้าง **

          สำนักงานประกันสังคมได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม จำนวน 5 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2559 รวม 4 ภาค และ กรุงเทพมหานคร โดยนำความเห็นส่วนมากของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไปดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ดังนี้  

           ปรับฐานค่าจ้างมาตรา 33 จาก 1,650 บาท เป็น 3,600 บาท

           ปรับเพดานค่าจ้างมาตรา 33 จาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท

           ปรับฐานค่าจ้างมาตรา 39 จาก 4,800 บาท เป็น 7,800 บาท

ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างกฎกระทรวง