สิทธิการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม


สิทธิการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม

                                           สิทธิการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม

          ประกันสังคม ตอกย้ำความเชื่อมั่นการรักษาในระบบประกันสังคม เป็นไปตามมาตรฐานการแพทย์

แจงข้อเท็จจริงการได้รับยาต้องไม่ต่ำกว่าบัญชียาหลักแห่งชาติ สถานพยาบาลต้องให้บริการรักษาจนถึงที่สุด

โดยไม่จำกัดจำนวนเงิน และจำนวนครั้ง

          นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม

ได้กำหนดแนวทางให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่กำหนดสิทธิการรับบริการทางการแทพย์

ผู้ประกันตนสามารถเลือกสถานพยาบาลได้ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดรูปแบบ

การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เป็นการเหมาจ่ายรายหัวให้แก่สถานพยาบาล ครอบคลุมการรักษาจนสิ้นสุดการรักษา

โดยไม่จำกัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ได้กำหนดการจ่ายค่าบริการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพ

และป้องกันโรคและการรักษาในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคเรื้อรังต่างๆ การรักษาประเภทผู้ป่วยในที่มีค่าใช้จ่ายสูง

ค่ายาราคาสูง ค่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ค่าอุปกรณ์อวัยวะเทียมที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับการรักษาและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย

ซึ่งรูปแบบบริการดังกล่าวสอดคล้องและเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกับการจัดบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

          เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงการจัดระบบบริการทางการแพทย์ที่แตกต่างกับระบบ

ประกันสุขภาพอื่น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ความสะดวกและเหมาสมกับบริบทของความเป็นผู้ประกันตน

โดยมีสถานพยาบาลที่กำหนดสิทธิในการให้บริการแก่ผู้ประกันตน ซึ่งสามารถเลือกสถานพยาบาลได้ทั้งภาครัฐและเอกชน

ปัจจุบันมีสถานพยาบาลภาครัฐต้องรองรับผู้ป่วยทั้งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิสวัสดิการข้าราชการ

ทำให้มีความแออัด ส่งผลต่อระยะเวลาคอยการรับบริการ ปัจจุบันสถานพยาบาลในระบบประกันสังคม มีทั้งสิ้น 239 แห่ง

เป็นสถานพยาบาลภาครัฐ จำนวน 159 แห่ง และเอกชน 78 แห่ง โดยมีสัดส่วนในการเลือกสถานพยาบาลภาครัฐ

และเอกชนของผู้ประกันตน อยู่ในอัตรา 50:50 โดยประมาณ ทั้งการเข้าถึงยา ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยา

ตามดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาโดยมาตรฐานไม่ต่ำกว่าบัญชียาหลักแห่งชาติ การคลอดบุตร ผู้ประกันตนสามารถ

เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลใดก็ได้ และสามารถขอรับเงินค่าบริการตั้งแต่ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดจนถึงค่าตรวจหลังคลอด

ในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง ให้สิทธิผู้ประกันตนในการรับบริการทันตกรรม สามารถใช้บริการ

ในสถานพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมได้ทั้งรัฐและเอกชน อาทิเช่น ถอนฟัน/ผ่าฟันคุด อุดฟัน ขูดหินปูน ฟันเทียมไม่จำกัด

วัสดุ สำนักงานประกันสังคมได้มีการทำความตกลงกับสถานพยาบาลทันตกรรม สำหรับบริการถอนฟัน ผ่าฟันคุด อุดฟัน ขูด

หินปูน โดยให้ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย การเข้ารับบริการกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตน

สามารถเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลใดก็ได้ซึ่งให้ความคุ้มครองทั้งกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ฉุกเฉิน

เร่งด่วน และฉุกเฉินทั่วไป ในระยะเวลา 72 ชั่วโมง ให้สิทธิผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถ

เลือกวิธี การบำบัดทดแทนไตตามความเหมาะสมและความพร้อมของผู้ประกันตน โดยไม่จำกัดว่าต้องรักษาด้วยวิธีการล้าง

ช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวรก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการปลูกถ่ายไต ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต โดยให้

ความคุ้มครอง 8 โรค กรณีปลูกถ่ายโดยใช้เนื้อเยื่อตนเองหรือพี่น้องหรือเนื้อเยื่อผู้บริจาค อัตรา 750,000-1,300,000 บาท/ราย

ไม่จำกัดจำนวน การปลูกถ่ายอวัยวะ ให้ความคุ้มครองการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา การปลูกถ่ายตับ การปลูกถ่ายปอด

การปลูกถ่ายตับอ่อน การปลูกถ่ายมากกว่า 1 อวัยวะขึ้นไป การส่งเสริมสุขภาพ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการส่งเสริม

สุขภาพและป้องกันโรคตามโครงการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในหน่วยบริการของสำนักงานหลักประกัน

สุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มเติมรายการและอัตราการตรวจสุขภาพ โดยสามารถเข้ารับบริการได้

ในสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้

          เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า การใช้สิทธิการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมนั้น

ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่ตนเองเลือกได้ไม่จำกัดจำนวนค่าใช้จ่าย และไม่จำกัดจำนวนครั้ง

ที่เข้ารับบริการจนสิ้นสุดการรักษา ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมยังคงมุ่งมั่นพัฒนาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์

ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการทางการแพทย์ รวมถึงต้องปฏิรูประบบให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งให้ผู้ประกันตน

เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียบมีคุณภาพ อันจะนำไปสู่การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

โดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืน

โทรสายด่วน 1506

ที่มา https://www.sso.go.th/wpr/main/news/สิทธิการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม