หลักเกณฑ์และเงื่อนไข กรณีชราภาพ


หลักเกณฑ์และเงื่อนไข กรณีชราภาพ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข กรณีชราภาพ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

 เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ

    -  จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

    -  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

    -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ

    -  จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

    -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

    -  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

 ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ

    -  กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง

    -  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

  ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ

    -  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

      -  กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

 หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ

    -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

    กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย

          -สำเนามรณะบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย

          -สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ

          -สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันคนและของบริดามารดา (ถ้ามี)

          -สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร

          -หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)

   กรณีบำนาญชราภาพ

    สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ

     -  สำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้

         1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)

         2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)

         3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)

         4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

         5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)

         6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)

         7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

         8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

         9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)

        10) ธนาคารออมสิน

        11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

 

 ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ

    -  ผู้ประกันตน/ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

    -  เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา

    -  สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

    -  พิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว

1. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน)

กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณี ชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ

 

ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทน

 

 กรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 10 = 3,000 บาท กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

 

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน 

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ     

-  ผู้ประกันตน/ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน     

-  เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา     

-  สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา     

-  พิจารณาสั่งจ่าย เงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว 

 1. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน) กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณี ชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ   

  ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทน กรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 10 = 3,000 บาท กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด   

  ตัวอย่าง ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2547 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบ กรณีชราภาพของผู้ประกันตน ดังนี้  

ปี

จำนวนเงินสมทบ

นายจ้าง

ผู้ประกันตน

รวม

2542

850

850

1,700

2543

1,550

1,550

3,100

2544

2,300

2,300

4,600

2545

3,200

3,200

6,400

2546

4,100

4,100

8,200

2547

2,800

2,800

5,600

 

รวม

 

14,800

 

14,800

 

29,600

 

 

 

วิธีคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน

ปี

เงินสมทบ

เงินสมทบสะสม x อัตรา

ผลประโยชน์ตอบแทน

2542

1,700

1,700 x 2.4%

= 40.80

2543

3,100

(1,700 + 3,100 = 4,800 ) x 3.7%

= 177.60

2544

4,600

(4,800 + 4,600 = 9,400) x 4.2%

= 394.80

2545

6,400

(9,400 + 6,400 = 15,800) x 4.3%

= 679.40

2546

8,200

(15,800 + 8,200 = 24,000) x 6.5%

= 1,560.00

2547

5,600

(24,000 + 5,600 = 29,600) x 2.00% x 11/12

=  542.67

 

 

รวม

3,395.27

 หมายเหตุ 11/12 หมายถึง ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบมาแค่ 11 เดือน ภายใน 1 ปี เงินบำเหน็จชราภาพและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับ คือ 29,600 + 3,395.27 = 32,995.27บาท

3. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ

(สำหรับ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)

ตัวอย่างที่ 1

20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

 

=

20 x 13.000  100

= 2,600

 

 

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 2,600 บาท ไปจนตลอดชีวิต

 

 

 

การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ นำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย รวมกันแล้วหารด้วย 60

 

ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน  จำนวนเดือน (60 เดือน)

 

 

 

 

 

กรณีที่จ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน

 

เช่น จ่ายเงินสมทบมาได้ 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย เป็นต้น

 

 

 

ตัวอย่างที่  2  ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55    ปีบริบูรณ์  และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร                    

1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ               

=  15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%               

=  5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี ) 

= 7.5%               

รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี 

= 20% + 7.5% = 27.5%               ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน 

= 27.5% ของ 15,000 บาท                                                               

= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต             

2. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน               

= 4,125 บาท  × 10 เท่า               

= 41,250 บาท            

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่าง  การทำงานมากมายแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคง อุ่นใจได้ว่ามีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกัน

ที่มา https://www.sso.go.th/wpr/main/service